พระพุทธเจ้าประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต

ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต ๑
๑. ความตอนนี้ ตรัสแก่พระอานนท์.
บาลี อัปปายุกสูตร โสณัตเถรวรรค อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๕/๑๑๑.



....ถูกแล้วอานนท์ ! ถูกแล้วอานนท์ ! จริงเทียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มีชนมายุน้อย. เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้วได้ ๗ วัน มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมสวรรคต, ย่อมเข้าถึงเทวนิกาย ชั้นดุสิต. ทรงได้รับการบำเรอ ๒

๒. บาลี นวมสูตร เทวทูตวรรค ปฐมปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๑๘๓/๔๗๘.

ภิกษุ ท. ! เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ละเอียดอ่อนอย่างที่สุด, ดังเราจะเล่าให้ฟัง.

ภิกษุ ท. ! เขาขุดสระ ๓ สระในวังแห่งบิดาของเรา, ในสระหนึ่งปลูกอุบล (บัวเขียว), สระหนึ่งปลูกปทุม (บัวหลวง), สระหนึ่งปลูก บุณฑริกะ (บัวขาว), เพื่อประโยชน์แก่เรา.

ภิกษุ ท. ! มิใช่ว่าจันทน์ที่เราใช้อย่างเดียว ที่มาแต่เมืองกาสี, ถึงผ้าโพก, เสื้อ, ผ้านุ่ง ผ้าห่ม, ก็ล้วนมาแต่เมืองกาสี.

ภิกษุ ท. ! เขาคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา ด้วยหวังว่าความหนาว, ความร้อน, ละออง, หญ้า, หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกต้องเรา ทั้งกลางวันและกลางคืน.

ภิกษุ ท. ! มีปราสาทสำหรับเรา ๓ หลัง; หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาว, หลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน, และหลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน. เราอยู่บนปราสาทสำหรับฤดูฝน ตลอดสี่เดือนฤดูฝน ให้เขาบำเรออยู่ด้วยดนตรี อันปราศจากบุรุษ, ไม่ลงจากปราสาท.

ภิกษุ ท. ! ในวังของบิดาเรา, เขาให้ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี เจือด้วยเนื้อแก่ทาสและคนงาน (ดาษดื่น) เช่นเดียวกับที่ที่อื่น เขาให้ข้าวปลายเกรียนกับน้ำส้ม แก่พวกทาสและคนใช้. ๑

๑. สำนวนเช่นนี้ เป็นการส่อความบริบูรณ์ ด้วยอาหาร ในภาษาบาลี

ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเพียบพร้อม ไปด้วยการได้ตามใจตัวถึงเพียงนี้ มีการได้รับความประคบประหงมถึงเพียงนี้ ความคิดก็ยังบังเกิดแก่เราว่า “บุถุชนที่มิได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้, แต่ครั้นเห็นคนอื่นแก่ ก็นึกอิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.
ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องแก่ ไม่ข้ามพ้นความแก่ไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องแก่ ไม่พ้นความแก่ไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นแก่นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา”.

ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความหนุ่มของเรา ได้หายไปหมดสิ้น.

ภิกษุ ท. ! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้, ครั้นเห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็นึกอิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียนไม่นึกถึงตัวเสียเลย.
ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้แล้ว จะมาลืมตัวอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นเจ็บไข้นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความไม่มีโรค ของเราก็หายไปหมดสิ้น

ภิกษุ ท. ! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้, ครั้นเห็นคนอื่นตาย ก็อิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.
ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นตายนั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในชีวิตความเป็นอยู่ของเรา ได้หายไปหมดสิ้น.





ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๕
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๔๐

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กามสุขกับความหน่าย ทรงหลงกามและหลุดจากกาม

ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

คุณธรรมของพระโสดาบัน

อริยกันตศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

พระพุทธเจ้าประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ

คนรวยก็มีธรรมะได้

การประสูติของพระพุทธเจ้า และการเกิดแสงสว่าง เกิดแผ่นดินไหว

การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ของพระพุทธเจ้า

การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ เกิดแสงสว่างเนื่องด้วย การจุติจากดุสิต แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ