บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

คนรวยก็มีธรรมะได้

รูปภาพ
คนรวยก็มีธรรมะได้ ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่าย่อมเจริญด้วย ความเจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสาร และความประเสริฐ ทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย. สิบอย่าง อย่างไรเล่า? สิบอย่างคือ :- ๑. ย่อมเจริญด้วยนาและสวน, ๒. ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก, ๓. ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา, ๔. ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกร ที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ, ๕. ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้า, ๖. ย่อมเจริญด้วยสัทธา, ๗. ย่อมเจริญด้วยศีล, ๘. ย่อมเจริญด้วยสุตะ, ๙. ย่อมเจริญด้วยจาคะ, ๑๐ ย่อมเจริญด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วย ความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยความเจริญ ของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสาร และความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า, บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตร และแม้ของพระราชา. บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญา จาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย, บุคคลเช่นนั้น

คุณธรรมของพระโสดาบัน

รูปภาพ
คุณธรรมของพระโสดาบัน ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ ๓ เป็นโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน) เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า. ซึ่งสัญโญชน์ ๓ ก็คือ ๑. สักกายทิฏฐิ การเข้าใจผิดในนามรูปจากที่เป็นจริง ๒. วิจิกิจฉา การลังเล ต่อการพ้นทุกข์ ตามแบบของพระพุทธเจ้า ๑, ๓. สีลัพพัตตปรามาส การถือศีลและวัตรที่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือความปรารถนาผิดทาง โง่เขลา และถือรั้น ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น, เ

อริยกันตศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

รูปภาพ
อริยกันตศีล ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย อันเป็นศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ, คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ. ๑ ซึ่งความหมายก็คือ ๑. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้น หรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง, ๒. ศีลไม่ทะลุ หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อกลางๆ, ๓. ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ๆ หมู่ละหลายสิกขาบท และหลายหมู่, ๔. ศีลไม่พร้อย เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลายๆ แห่ง, ๕. ส่วนศีลเป็นไท ก็คือ ไม่เป็นทาสตัณหา ไม่รักษาศีลแบบการค้ามุ่งเอาเครื่องตอบแทน, ๖. ศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้ เพราะผู้รู้ท่านใคร่ครวญเสียก่อน จึงสรรเสริญว่าดี ว่าชอบ, ๗. ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ หมายถึง ศีลที่ตัณหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิ มานะไม่แตะต้อง คือ ไม่ถือศีล เพราะยากจนเป็นเหตุ ให้กระด้างกระเดื่อง หรือเป็นเครื่องยกตนข่มท่านไป เป็นต้น, ๘. ศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่ พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ ดังท่านเปรี

ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

รูปภาพ
ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยอาทิพรหมจริยศีล ๑ มหาราชะ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๒. เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมยอยู่ ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุน อันเป็นของชาวบ้าน ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๕. เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาดคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโ