อริยกันตศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ



อริยกันตศีล

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย อันเป็นศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ, คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ. ๑

ซึ่งความหมายก็คือ
๑. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้น หรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง,
๒. ศีลไม่ทะลุ หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อกลางๆ,
๓. ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ๆ หมู่ละหลายสิกขาบท และหลายหมู่,
๔. ศีลไม่พร้อย เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลายๆ แห่ง,
๕. ส่วนศีลเป็นไท ก็คือ ไม่เป็นทาสตัณหา ไม่รักษาศีลแบบการค้ามุ่งเอาเครื่องตอบแทน,
๖. ศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้ เพราะผู้รู้ท่านใคร่ครวญเสียก่อน จึงสรรเสริญว่าดี ว่าชอบ,
๗. ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ หมายถึง ศีลที่ตัณหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิ มานะไม่แตะต้อง คือ ไม่ถือศีล เพราะยากจนเป็นเหตุ ให้กระด้างกระเดื่อง หรือเป็นเครื่องยกตนข่มท่านไป เป็นต้น,
๘. ศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่ พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ

ดังท่านเปรียบว่า เหมือนโคแม่ลูกอ่อน ใส่ใจดูลูกไม่ห่างตา แม้บดเอื้อง ตาก็คอยชำเลืองดูลูก, กิริยาที่พิจารณาศีล นับเข้าในสีลานุสสติกรรมฐาน และจิตของผู้มีศีลอย่างนี้ ใกล้สมาธิ และศีลเช่นนี้ เป็นฐานรองรับสมาธิได้ดีทีเดียว.



บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙/๑๔๑๒,
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๑
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๒๑๖

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กามสุขกับความหน่าย ทรงหลงกามและหลุดจากกาม

ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

คุณธรรมของพระโสดาบัน

พระพุทธเจ้าประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ

คนรวยก็มีธรรมะได้

พระพุทธเจ้าประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต

การประสูติของพระพุทธเจ้า และการเกิดแสงสว่าง เกิดแผ่นดินไหว

การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ของพระพุทธเจ้า

การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ เกิดแสงสว่างเนื่องด้วย การจุติจากดุสิต แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ