บทความ

คำตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

กามสุขกับความหน่าย ทรงหลงกามและหลุดจากกาม

รูปภาพ
กามสุขกับความหน่าย ๑ ๑. บาลี มาคัณฑิยสูตร ปริพพาชกวรรค ม. ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๑. ครั้งหนึ่งประทับอยู่ ณ นิคมกัมมาสธัมมะ ในหมู่ชนชาวกุรุ พักอยู่กะพราหมณ์ภารทวาชโคตร ที่โรงบูชาไฟ มีเครื่องลาดล้วนไปด้วยหญ้า. มาคัณฑิยปริพพาชกเพื่อนของภารทวาชพราหมณ์ได้มาเยี่ยม ในที่สุดได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อได้ตรัสความที่พระองค์ทำลายความยินดี ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ให้ปริพพาชกนั้นเลื่อมใสแล้ว ได้ตรัสเล่าพระประวัติตอนนี้ เพื่อแสดงความที่ได้เคยเสวย กามสุข มาแล้วอย่างมาก และความรู้สึกหน่ายในกามนั้น. ....มาคัณฑิยะ ! ครั้งเมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์ ประกอบการครองเรือน ได้อิ่มพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรอตนด้วยรูปที่เห็นได้ด้วยจักขุ, ด้วยเสียงที่ฟังได้ด้วยหู, ด้วยกลิ่นอันดมได้ด้วยจมูก, ด้วยรสอันลิ้มได้ด้วยลิ้น, ด้วยโผฏฐัพพะอันสัมผัสได้ด้วยกาย ล้วนแต่ที่สัตว์อยากได้ รักใคร่ พอใจ ยวนใจ เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. มาคัณฑิยะ ! ปราสาทของเรานั้น มีแล้ว ๓ แห่ง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน, ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว, ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูร้อน. มาคั

พระพุทธเจ้าประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต

รูปภาพ
ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต ๑ ๑. ความตอนนี้ ตรัสแก่พระอานนท์. บาลี อัปปายุกสูตร โสณัตเถรวรรค อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๕/๑๑๑. ....ถูกแล้วอานนท์ ! ถูกแล้วอานนท์ ! จริงเทียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มีชนมายุน้อย. เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้วได้ ๗ วัน มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมสวรรคต, ย่อมเข้าถึงเทวนิกาย ชั้นดุสิต. ทรงได้รับการบำเรอ ๒ ๒. บาลี นวมสูตร เทวทูตวรรค ปฐมปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๑๘๓/๔๗๘. ภิกษุ ท. ! เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ละเอียดอ่อนอย่างที่สุด, ดังเราจะเล่าให้ฟัง. ภิกษุ ท. ! เขาขุดสระ ๓ สระในวังแห่งบิดาของเรา, ในสระหนึ่งปลูกอุบล (บัวเขียว), สระหนึ่งปลูกปทุม (บัวหลวง), สระหนึ่งปลูก บุณฑริกะ (บัวขาว), เพื่อประโยชน์แก่เรา. ภิกษุ ท. ! มิใช่ว่าจันทน์ที่เราใช้อย่างเดียว ที่มาแต่เมืองกาสี, ถึงผ้าโพก, เสื้อ, ผ้านุ่ง ผ้าห่ม, ก็ล้วนมาแต่เมืองกาสี. ภิกษุ ท. ! เขาคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา ด้วยหวังว่าความหนาว, ความร้อน, ละออง, หญ้า, หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกต้องเรา ทั้งกลางวันและกลางคืน. ภิกษุ ท. ! มีปราสาทสำหรับเรา ๓ หลัง; หลังหนึ่งสำหรับฤดู

บุรพกรรมของการได้ มหาปุริสลักขณะ “มหาบุรุษ” ๓๒ ประการ ของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ “มหาบุรุษ” ๑ ๑. บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๙-๑๙๓/๑๓๐-๑๗๑. ....ภิกษุ ท. ! พวกฤาษีภายนอก จำมนต์มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ลักขณะอันนี้ๆ เพราะทำกรรมเช่นนี้ๆ : ๑. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ. (ก) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นในกุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต, ในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฎิบัติมารดา บิดา การปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น. เพราะได้กระทำ ได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆ ไว้, ภายหลังแต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ตถาคตนั้นถือเอายิ่งกว่าในเทพเหล่าอื่น โดย ฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์; ครั้นจุติจากภพ นั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือ มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึ้นก็เสมอ ฝ่าเท้าถูกต้องพื้นพร้อมกัน... (ลักขณะที่

พระพุทธเจ้าประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ

รูปภาพ
ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ๑ ๑. บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๗/๑๓๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน. ....ภิกษุ ท. ! มหาบุรุษ (คือพระองค์เองก่อนผนวช) ผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ย่อมมีคติเป็นสอง หาเป็นอย่างอื่นไม่ คือ :- ถ้าเป็นฆราวาส ย่อมเป็นจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด มีชนบทอันบริบูรณ์ ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ. แก้ว ๗ ประการ ย่อมเกิดแก่มหาบุรุษนั้นคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. มีบุตรผู้กล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันใครๆ จะย่ำยีมิได้ ตามเสด็จกว่า ๑๐๐๐. มหาบุรุษนั้น ชนะแล้วครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นที่สุดโดยรอบ, ไม่มีหลักตอ เสี้ยนหนาม มั่งคั่ง เบิกบาน เกษม ร่มเย็น ปราศจากเสนียดคือโจร, ทรงครอบครองโดยธรรมอันสม่ำเสมอ มิใช่โดยอาญาและศาสตรา. ถ้าออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูลด้วยเรือน ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องปกปิดอันเปิดแล้วในโลก. ภิกษุ ท. ! มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนั้น เหล่าไหนเล่า? คือ :-

การประสูติของพระพุทธเจ้า และการเกิดแสงสว่าง เกิดแผ่นดินไหว

รูปภาพ
การประสูติ ๑ ๑. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๑-๒๕๓/๓๗๒-๓-๔-๕-๖-๗. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำเอามาแต่ที่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ดูก่อนอานนท์ ! หญิงอื่นๆ ย่อมนั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้าง. ส่วนมารดาแห่งโพธิสัตว์ หาเป็นอย่างนั้นไม่, มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมยืนคลอดโพธิสัตว์” ดังนี้. ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใดโพธิสัตว์ ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมเข้ารับก่อน ส่วนมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเข้ารับต่อภายหลัง” ดังนี้. ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทพบุตรทั้งสี่ ย่อมรับเอามาวาง ตรงหน้าแห่งมารดา ทูลว่าแม่เจ้าจงพอพระทัยเถิด บุตรอันมีศักดาใหญ่ของแม่เจ้าเกิดแล้ว” ดังนี้. ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้นเป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว. เ

การลงสู่ครรภ์ และการอยู่ในครรภ์ของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
การลงสู่ครรภ์ ๒ ๒. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙/๓๖๕. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์กำลังก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้นเทพบุตรทั้งหลาย ย่อมทำการอารักขาในทิศทั้งสี่ แก่โพธิสัตว์ โดยประสงค์ว่ามนุษย์หรืออมนุษย์ หรือใครๆ ก็ตาม อย่าได้เบียดเบียนโพธิสัตว์ หรือมารดาแห่งโพธิสัตว์เลย” ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค. ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๕ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๒๖ การอยู่ในครรภ์ ๓ ๓. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙-๒๕๑/๓๖๖-๗-๘-๙,๓๗๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้นมารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้มีศีลอยู่โดยปก

การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ เกิดแสงสว่างเนื่องด้วย การจุติจากดุสิต แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ

รูปภาพ
การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ ๑ ๑. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘/๓๖๓. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา” ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค. ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๕ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๒๔ เกิดแสงสว่างเนื่องด้วย การจุติจากดุสิต ๑ ๑. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘/๓๖๔, และ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๖/๑๒๗. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพ ของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ไ

การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ๓ ๓. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๗/๓๖๐-๑-๒, เป็นคำที่พระอานนท์เล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ถึงเรื่องที่เคยได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคเอง, นับว่าเป็นข้อความจากพระโอษฐ์ เฉพาะตอนที่อยู่ในอัญญประกาศ. บาลีอัจฉริยอัพภูตธัมมสูตรอันว่า ด้วยเรื่องอยู่ในดุสิต เรื่องจุติ เรื่องประสูติ เหล่านี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นปาฏิหาริย์, จะเป็นเรื่องที่ควรถือเอาตามนั้น ตรงตามตัวอักษรไปทั้งหมด หรือว่าเป็นเรื่องที่ท่านแฝงไว้ในปุคคลาธิษฐาน จะต้องถอดให้เป็นธรรมาธิษฐานเสียก่อน แล้วจึงถือเอา เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยกันอีกต่อหนึ่ง, ข้าพเจ้าผู้รวบรวมสังเกตเห็น ความแปลกประหลาดของเรื่องเหล่านี้ ตอนที่ไม่ตรัสเล่าเสียเอง ยกให้เป็นหน้าที่ของพระอานนท์ เป็นผู้เล่ายืนยันอีกต่อหนึ่ง ขอให้วินิจฉัยกันดูเถิด. ที่นำมารวมไว้ในที่นี้ด้วย ก็เพราะมีอยู่ในบาลี เป็นพุทธภาษิตเหมือนกัน แม้จะโดยอ้อม โดยผ่านทางปากของพระอานนท์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ มีแต่เรื่องตอนนี้เท่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ

พวกสากยะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าโกศล แดนสากยะขึ้นอยู่ในแคว้นโกศล

รูปภาพ
พวกสากยะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าโกศล ๒ ๒. บาลี อัคคัญญสูตร ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๔. ตรัสแก่วาเสฏฐะกับเพื่อน. ....วาเสฏฐะ ! พระราชา ปเสนทิโกศล ย่อมทราบว่า ‘พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยม บวชแล้วจากสากยตระกูล’. วาเสฏฐะ ! ก็แหละพวกสากยะ ท. เป็นผู้อยู่ใกล้ชิด และอยู่ในอำนาจของพระราชาปเสนทิโกศล. วาเสฏฐะ ! ก็พวกสากยะ ท. ย่อมทำการต้อนรับ, ทำการอภิวาท ลุกขึ้นยืนรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ในพระราชาปเสนทิโกศล. วาเสฏฐะ ! พวกสากยะกระทำการต้อนรับ เป็นต้น แก่พระราชาปเสนทิโกศลอย่างไร, พระราชาปเสนทิโกศล ย่อมกระทำการต้อนรับ เป็นต้น แก่ตถาคต (เมื่อออกบวชแล้ว) อย่างนั้น ๓. ๓. ความข้อนี้เราไม่อยากจะเชื่อกัน โดยมากว่าจะเป็นอย่างนี้ โดยที่เราไม่อยากให้ตระกูลของพระองค์เป็นเมืองขึ้นของใคร แต่พระองค์เองกลับตรัสตรงไปทีเดียวว่า เป็นเมืองขึ้นของโกศล, ต้องนอบน้อมต่อพระเจ้าปเสนทิ. แต่เมื่อพระองค์ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. พระเจ้าปเสนทิโกศลกลับทำตรงกันข้าม คือ นอบน้อมต่อพระองค์ เช่นเดียวกับที่พวกสากยะเคยนอบน้อมต่อพระเจ้าปเสนทิ. บาลีตรงนี้ คือ รญฺโญ ปเสนทิสฺส โกสลสฺส อนนฺตรา อนุ

การเกิดแห่งวงศ์สากยะ

รูปภาพ
การเกิดแห่งวงศ์สากยะ ๑ ๑. ความตอนนี้ ตรัสแก่อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์พราหมณ์โปกขรสาติ ที่ป่าอิจฉานังคละ. บาลี อัมพัฏฐสูตรที่ ๓ สี. ที. ๙/๑๒๐/๑๔๙. อัมพัฏฐะ ! เรื่องดึกดำบรรพ์, พระเจ้าอุกกากราช ปรารถนาจะยกราชสมบัติ ประทานแก่โอรสของพระมเหสี ที่โปรดปรานต้องพระทัย จึงได้ทรงขับราชกุมารผู้มีชนมายุแก่กว่า คือเจ้า อุกกามุข, กรกัณฑุ, หัตถินีกะ, สินีปุระ, ออกจากราชอาณาจักร ไปตั้งสำนักอยู่ ณ ป่าสากใหญ่ ใกล้สระโบกขรณี ข้างภูเขาหิมพานต์. เธอเหล่านั้น กลัวชาติจะระคนกัน จึงสมสู่กับพี่น้องหญิงของเธอเอง. ต่อมาพระเจ้าอุกกากราช ตรัสถามอำมาตย์ว่า ‘บัดนี้กุมารเหล่านั้นอยู่ที่ไหน?’ กราบทูลว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นเสด็จอยู่ ณ ป่าสากใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้สระโบกขรณี ข้างภูเขาหิมพานต์ พระกุมารทั้งหลายกลัวชาติระคนกัน จึงสมสู่กับภคินี ของตนเอง. ขณะนั้น พระเจ้าอุกกากราช ทรงเปล่งพระอุทานว่า ‘กุมารผู้อาจหาญหนอ, กุมารผู้อาจหาญอย่างยิ่งหนอ’. เพราะเหตุนั้นเป็นเดิม จึงเป็นพวกที่ได้ชื่อว่า ‘สากยะ’ ๑ สืบมา.... . ๑. ชื่อนี้มีมูลมาจากต้นสากก็ได้, แห่งคำว่ากล้าหาญก็ได้, เพราะสักก-กล้า

คนรวยก็มีธรรมะได้

รูปภาพ
คนรวยก็มีธรรมะได้ ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่าย่อมเจริญด้วย ความเจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสาร และความประเสริฐ ทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย. สิบอย่าง อย่างไรเล่า? สิบอย่างคือ :- ๑. ย่อมเจริญด้วยนาและสวน, ๒. ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก, ๓. ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา, ๔. ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกร ที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ, ๕. ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้า, ๖. ย่อมเจริญด้วยสัทธา, ๗. ย่อมเจริญด้วยศีล, ๘. ย่อมเจริญด้วยสุตะ, ๙. ย่อมเจริญด้วยจาคะ, ๑๐ ย่อมเจริญด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วย ความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยความเจริญ ของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสาร และความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า, บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตร และแม้ของพระราชา. บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญา จาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย, บุคคลเช่นนั้น

คุณธรรมของพระโสดาบัน

รูปภาพ
คุณธรรมของพระโสดาบัน ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ ๓ เป็นโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน) เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า. ซึ่งสัญโญชน์ ๓ ก็คือ ๑. สักกายทิฏฐิ การเข้าใจผิดในนามรูปจากที่เป็นจริง ๒. วิจิกิจฉา การลังเล ต่อการพ้นทุกข์ ตามแบบของพระพุทธเจ้า ๑, ๓. สีลัพพัตตปรามาส การถือศีลและวัตรที่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือความปรารถนาผิดทาง โง่เขลา และถือรั้น ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น, เ

อริยกันตศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

รูปภาพ
อริยกันตศีล ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย อันเป็นศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ, คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ และเป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ. ๑ ซึ่งความหมายก็คือ ๑. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้น หรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง, ๒. ศีลไม่ทะลุ หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อกลางๆ, ๓. ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ๆ หมู่ละหลายสิกขาบท และหลายหมู่, ๔. ศีลไม่พร้อย เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลายๆ แห่ง, ๕. ส่วนศีลเป็นไท ก็คือ ไม่เป็นทาสตัณหา ไม่รักษาศีลแบบการค้ามุ่งเอาเครื่องตอบแทน, ๖. ศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้ เพราะผู้รู้ท่านใคร่ครวญเสียก่อน จึงสรรเสริญว่าดี ว่าชอบ, ๗. ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ หมายถึง ศีลที่ตัณหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิ มานะไม่แตะต้อง คือ ไม่ถือศีล เพราะยากจนเป็นเหตุ ให้กระด้างกระเดื่อง หรือเป็นเครื่องยกตนข่มท่านไป เป็นต้น, ๘. ศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่ พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ ดังท่านเปรี

ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

รูปภาพ
ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยอาทิพรหมจริยศีล ๑ มหาราชะ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๒. เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมยอยู่ ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๓. เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุน อันเป็นของชาวบ้าน ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๔. เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก ; แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ๕. เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาดคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโ